ข้อดี และข้อจำกัดของฉนวนกันความร้อนชนิดต่าง ๆ

ข้อดี และข้อจำกัดของฉนวนกันความร้อนชนิดต่าง ๆ

ข้อดี และข้อจำกัดของฉนวนกันความร้อนชนิดต่าง ๆ

ข้อดี และข้อจำกัดของฉนวนกันความร้อนชนิดต่าง ๆ

ชวนรู้ข้อดีข้อเสียก่อนเลือกติดฉนวนกันความร้อน ให้เหมาะกับบ้านคุณที่สุด

คงจะปฏิเสธไม่ได้เลยว่า สภาพอากาศอย่างบ้านเรา ประเทศไทยนี้ ถือได้ว่ามีสภาพอากาศที่ร้อนแทบจะตลอดทั้งปี และดูเหมือนว่าในทุก ๆ ปี จะมีอุณหภูมิที่สูงขึ้นเรื่อย ๆ นั่นทำให้การหาวิธีลดอุณหภูมิภายในที่อยู่อาศัยลง เป็นเรื่องที่หลาย ๆ ต้องให้ความสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นวิธีการแบบใช้ธรรมชาติช่วยอย่างการปลูกต้นไม้ให้ร่มเงา หรือวิธีการทางการออกแบบอย่างการสร้างบ้านให้มีหลังคาสูง หลีกเลี่ยงทิศทางที่ปะทะกับแสงแดด และวิธีการที่ง่าย และช่วยเพิ่มความเย็นสบายได้อย่างรวดเร็วอย่างการติดตั้งเครื่องปรับอากาศ แต่รู้หรือไม่ว่า ยังมีอีกวิธีหนึ่งที่สามารถช่วยลดอุณหภูมิความร้อนที่แนะนำก็คือ การติดตั้งฉนวนกันความร้อนนั่นเอง ซึ่งได้ว่าเป็นการลงทุนที่ค่อนข้างคุ้มค่าเลยทีเดียว เพราะฉนวนกันความร้อนสามารถช่วยป้องกันความร้อนได้ในระยะยาว จากต้นเหตุ วันนี้ ยูเนี่ยน คอมแมท เราจึงจะมาบอกข้อดี และข้อจำกัดขอฉนวนกันความร้อนแต่ละประเภท เพื่อการเลือกใช้งานได้อย่างเหมาะสมกัน

 

จะเลือกฉนวนกันความร้อน ควรพิจารณาอะไรบ้าง?

จะเลือกติดตั้งฉนวนกันความร้อนทั้งที ก็ต้องให้ได้ความคุ้มค่ามากที่สุดในการลงทุน เราจึงรวบรวมสิ่งที่ควรพิจารณาหลักๆ มาฝากกัน เพราะเมื่อทำการติดตั้งแล้วเจ้าฉนวนกันความร้อนนี้จะอยู่กับเราไปอีกนานในการทำหน้าที่ป้องกันความร้อนให้กับบ้านนับสิบปี โดยสิ่งที่ควรต้องพิจารณา หรือสังเกตก่อนการตัดสินใจเลือกติตตั้งฉนวนกันความร้อนก็คือ

  • ความปลอดภัย: อับดับแรกการคำนึงถึงความปลอดภัยเป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม เพราะฉนวนกันความร้อนเป็นสิ่งที่เราจะนำมาติดตั้งภายในบ้าน ซึ่งมีทั้งคนฝนครอบครัว และอาจมีสัตว์เลี้ยง เราจึงควรพิจารณาว่า ฉนวนกันความร้อนนั้น ๆ มีการเกิดฝุ่นที่ทำให้เป็นอันตรายหรือไม่ สามารถเป็นเชื้อรา หรือเป็นแหล่งที่อยู่ของสัตว์รบกวนหรือไม่ และที่สำคัญจะต้องไม่เป็นฉนวนกันความร้อนที่ทำให้เกิดการลุกลามของไฟ เมื่อเกิดเหตุอัคคีภัย ซึ่งข้อนี้สำคัญมากๆ ต่อความปลอดภัยภายในบ้าน
  • ค่าการนำความร้อน: ในการเป็นฉนวนกันความร้อนจำเป็นจะต้องมีคุณสมบัติของการป้องกันความร้อนตามหลักการ โดยจะต้องพิจารณาจากค่าการนำความร้อนหรือ ค่า k และค่าความต้านทานความร้อน หรือค่า R ที่จะต้องไม่มีการเปลี่ยนแปลง หรือเปลี่ยนแปลงน้อยที่สุดตลอดระยะเวลาการใช้งาน ซึ่งเราสามารถปรึกษาผู้เชี่ยวชาญได้
  • โครงสร้างของฉนวน: โครงสร้างของฉนวนกันความร้อนนั้นจะสามารถบ่งบอกถึง การดูดซึมน้ำ และความชื้นของตัวฉนวนว่ามีการดูดซึมง่ายหรือไม่ และต้องมั่นใจว่าจะต้องไม่เกิดการยุบตัวเมื่อใช้งานไปในระยะเวลานาน เพราะน้ำ และการยุบตัวจะส่งผลต่อทั้งค่า k และค่า R ทางด้านความเป็นฉนวนกันความร้อน

 

ฉนวนกันความร้อนมีกี่ชนิด พร้อมข้อดี-ข้อเสียของฉนวนกันความร้อนที่ควรสังเกต

ฉนวนกันความร้อนในท้องตลาดมีให้เลือกหลากหลายชนิดตามวัสดุ และคุณสมบัติของวัสดุที่สามารถป้องกันความร้อนได้ เรามาดูกันว่าฉนวนกันความร้อนมีกี่ชนิด และมีข้อดีข้อเสียที่ต้องสังเกตอะไรบ้าง

  • ฉนวนกันความร้อนแบบใยแก้ว
    ฉนวนกันความร้อนที่มีลักษณะเป็นเส้นใยแก้วขนาดเล็กประสานกัน ทำให้เกิดฟองอากาศ ที่ทำหน้าที่เก็บความร้อนไว้ภายใน

    • ข้อดี: เส้นใยแก้วถือเป็นวัสดุนำความร้อนต่ำ สามารถดูดซับเสียง ไม่เป็นวัสดุลามไฟ ติดตั้งได้ง่าย ฉนวนกันความร้อนแบบใยแก้วมีให้เลือกทั้งแบบม้วน และแบบแผ่น สามารถนำไปใช้งานได้อย่างหลากหลาย
    • ข้อเสีย: ต้องระมัดระวังเรื่องการรั่วซึม เพราะเส้นใยแก้วสามารถยุบตัวเมื่อถูกน้ำ ความชื้น และการกดทับ รวมถึงในการติดตั้งฉนวนกันความร้อนแบบใยแก้วนั้นอาจเกิดการฟุ้งกระจายของเส้นใยได้
  • ฉนวนกันความร้อนแบบใยหิน
    เป็นฉนวนกันความร้อนที่ผลิตจากหินภูเขาไฟที่นำมาผ่านกระบวนการหลอมด้วยความร้อนสูง และปั้นให้เป็นเส้นใย จึงมีคุณสมบัติที่สามารถป้องกันความร้อนได้

    • ข้อดี: คุณสมบัติเด่นของฉนวนกันความร้อนแบบใยหินคือ การป้องกันความร้อนได้สูง เป็นวัสดุกันไฟ และยังสามารถช่วยดูดซับเสียงได้ มีอายุการใช้งานที่ยืนยาว โดยทั่วไปจะมีขนาดความหนาให้เลือกใช้ตั้งแต่ 5 เซนติเมตรขึ้นไป สามารถใช้เป็นฉนวนฝ้าเพดาน และยังนิยมนำไปติดตั้งเป็นฉนวนกันเสียงได้อีกด้วย
    • ข้อเสีย: การเลือกใช้ฉนวนกันความร้อนแบบใยหิน จะต้องให้แน่ใจ และแยกแยะให้ชัดเจนระหว่าง ฉนวนใยหิน และ แร่ใยหิน ซึ่งแร่ใยหินนั้นอาจเป็นอันตรายได้ แต่ฉนวนกันความร้อนแบบใยหินจะไม่มีส่วนผสมของแร่ใยหิน จึงไม่เป็นอันตรายต่อผู้ใช้งาน และข้อจำกัดอีกประการคือ ฉนวนชนิดนี้จะไม่เหมาะกับการติดตั้งในบางพื้นที่ จึงควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญก่อนการตัดสินใจติดตั้ง
  • ฉนวนกันความร้อนแบบพอลิยูรีเทนโฟม
    ฉนวนกันความร้อนที่ผลิตด้วย พอลิยูรีเทนโฟม หรือเรียกอีกอย่างว่า โฟม PU หรือโฟมเหลือง เป็นวัสดุที่นำความร้อนต่ำ

    • ข้อดี: ฉนวนกันความร้อนแบบพอลิยูรีเทนโฟม มีคุณสมบัติเด่นที่สามารถป้องกันน้ำ และความชื่น และยังช่วยกันเสียงรบกวนได้อีกด้วย โดยโฟมพอลิยูรีเทนโฟม มีทั้งแบบฉีดพ่น และแบบแผ่น รวมถึงแบบที่มาพร้อมกับแผ่นฝ้าในตัว และยังได้มีการพัฒนาคุณสมบัติขึ้นด้วยการเพิ่มสารกันไฟลามเข้าไปด้วย
    • ข้อเสีย: การเลือกใช้ฉนวนกันไฟแบบพอลิยูรีเทนโฟมนั้น จึงจำเป็นจะต้องสังเกต และพิจารณาให้ดีก่อนว่าตัวฉนวนกันความร้อนที่จะเลือกใช้เป็นแบบพอลิยูริเทนที่ผสมสารกันไฟลาม เพื่อเพิ่มความปลอดภัยนั่นเอง
  • ฉนวนกันความร้อนแบบอลูมิเนียมฟอยล์
    ฉนวนกันความร้อนแบบอลูมิเนียมฟอยล์ มีลักษณะคล้ายกับแผ่นฟอยล์ทั่วไป แต่จะมีความหนา เหนียว และมีความทนทานกว่า ถือเป็นฉนวนกันความร้อนที่มีราคาไม่สูงมากนัก

    • ข้อดี: นอกจากจะเป็นฉนวนกันความร้อนที่มีราคาถูก คุณสมบัติเด่นของอลูมิเนียมฟอยล์ยังสามารถกันความร้อน ติดตั้งได้ง่าย น้ำหนักเบา ไม่เป็นวัสดุติดไฟ และไม่ขึ้นเชื้อราเมื่อถูกความชื้น และยังสามารถป้องกันรังสียูวีได้อีกด้วย
    • ข้อเสีย: แต่ข้อแนะนำคือ หากตัดสินใจเลือกใช้ฉนวนกันความร้อนแบบอลูมิเนียมฟอยล์ ควรจะใช้ควบคู่กับฉนวนกันความร้อนชนิดอื่น ๆ เพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการป้องกันความร้อนได้ดีกว่า และเมื่อติดตั้งนวนกันความร้อนชนิดนี้อาจมีประสิทธิภาพลดลงได้หากมีฝุ่นเกาะ หรือเกิดคราบสกปรกขึ้น
  • ฉนวนกันความร้อนแบบแอร์บับเบิล
    ฉนวนกันความร้อนแบบแอร์บับเบิล เป็นฉนวนที่มีลักษณะคล้ายพลาสติกกันกระแทก โดยทำให้มีมวลอากาศอยู่ตรงกลางระหว่างแผ่นฟอยล์ที่ประกบกัน เพื่อให้เกิดคุณสมบัติที่สามารถสะท้อนความร้อนได้

    • ข้อดี: ฉนวนกันความร้อนแบบแอร์บับเบิลมีข้อดีคือ สามารถนำไปติดตั้งได้หลากหลายรูปแบบตามต้องการ
    • ข้อเสีย: ฉนวนกันความร้อนประเภทนี้มีส่วนประกอบที่มีการผลิตขึ้นจากพลาสติก ซึ่งจะเป็นพลาสติกชนิดใดก็จะขึ้นอยู่กับผู้ผลิต เช่นเดียวกับฉนวนที่ผลิตจากพลาสติกชิดอื่น ๆ ที่จะต้องมีส่วนผสมของสารกันไฟเท่านั้น เพื่อความปลอดภัย
  • ฉนวนกันความร้อนแบบเยื่อกระดาษ
    ฉนวนกันความร้อนแบบเยื่อกระดาษ หรือฉนวนเซลลูโลส เป็นฉนวนกันความร้อนที่ผลิตขึ้นจากกระดาษที่ใช้แล้ว โดยตัววัสดุสามารถป้องกันความร้อนได้

    • ข้อดี: มีน้ำหนักเบา สามารถกันเสียงได้ ป้องกันเชื้อราได้ แม้ว่าจะทำจากวัสดุที่เป็นกระดาษแต่ฉนวนชนิดนี้ไม่ทำให้เป็นแหล่งของสัตว์รบกวนแต่อย่างใด และยังสามารถฉีดพ่นได้บนพื้นที่ และพื้นผิวที่หลากหลาย
    • ข้อเสีย: ฉนวนกันความร้อนแบบเยื่อกระดาษนั้น จะควบคุมความหนาได้ยาก และอาจทำได้ไม่สม่ำเสมอ
  • ฉนวนกันความร้อนแบบ Calcium silicate
    เป็นฉนวนกันความร้อนที่ผลิตจาก “ทรายซิลิเซียส” ที่นำมาผ่านกระบวนการอบด้วยไอน้ำพลังงานจากความร้อนสูง เพื่อให้เกิดเป็น ปูนขาวไฮเดรต ที่มีลักษณะเป็นเส้นใยละเอียดพิเศษ มีทั้งแบบ เส้นใยแร่ และเส้นใยสังเคราะห์

    • ข้อดี: มีคุณสมบัติที่ไม่ทำให้เกิดการสันดาป จึงสามารถป้องกันไฟ และไร้มลพิษ สามารถใช้กับอุณหภูมิได้ 1000°C มีค่าการนำความร้อนสูงกว่าฉนวนใยหิน และสามารถทนต่อแรงกดได้สูง จึงเหมาะกับใช้ในงานอุตสาหกรรม
    • ข้อเสีย: มีราคาค่อนข้างสูง เหมาะกับการใช้งานในภาคอุตสาหกรรมมากกว่า
  • ฉนวนกันความร้อนแบบ Ceramic fiber
    คือฉนวนกันความร้อนที่สามารถทนต่ออุณหภูมิที่สูงได้ถึง 1,000 – 1,600 องศาเซลเซียส เพราะผลิตด้วยเส้นใยเซรามิกส์ไฟเบอร์ ที่ประกอบไปด้วยสารประกอบอะลูมิโนซิลิเกต และจะมีการผสมสารประกอบของเซอร์โคเนียมด้วย

    • ข้อดี: มีน้ำหนักเบา ทนต่ออุณหภูมิสูง ทนความร้อนได้ดี นำความร้อนต่ำ ความร้อนจำเพาะ และการสั่นสะเทือนทางกลต่ำ เหมาะกับการใช้ในงานอุตสาหกรรมเครื่องกล โลหะ เคมี ปิโตรเลียม เซรามิกส์ แก้ว อิเล็กทรอนิกส์ และอุตสาหกรรมอื่น ๆ
    • ข้อเสีย: มีราคาค่อนข้างสูง ไม่เหมาะกับงานทั่วไป

 

ทั้งหมดนี้ก็เป็นข้อมูลดี ๆ เกี่ยวกับฉนวนกันความร้อนแต่ละชนิด ที่ต่างมีทั้งคุณสมบัติเด่น ข้อดี ข้อเสียที่แตกต่างกันไปตามคุณสมบัติของวัสดุที่นำมาผลิต เพื่อให้คุณสามารถเปรียบเทียบ และเลือกใช้ฉนวนกันความร้อนที่เหมาะสม และคุ้มค่าที่สุด

 

ยูเนี่ยน คอมแมท พร้อมให้คำปรึกษา และจำหน่ายสินค้าด้านฉนวนกันความร้อน ฉนวนกันเสียงคุณภาพจากแบรนด์คุณภาพชั้นนำระดับโลกอย่าง ROCKWOOL ครบวงจร เทปอลูมิเนียม ครอบสันหลังคา ใยแก้ว อลูมิเนียมฟอยล์ แผ่นสะท้อนความร้อน ฟอยล์กันความร้อน ฉนวนกันความร้อนหลังคา ยินดีให้คำแนะนำสินค้าประเภทวัสดุยาแนวทั่วไป วัสดุยาแนวกันไฟ เช่น กาวซิลิโคน กาวยาง กาวอะคริลิค (แด๊ป) นอกจากนี้เรายังเป็นเป็นผู้ผลิตผ้าใบต่อท่อดักท์รายแรกในประเทศไทย บริการงานอุปกรณ์ติดตั้ง ท่อลม และท่อดักท์ มั่นใจได้ในคุณภาพของสินค้าตลอดอายุการใช้งาน

 

ติดตามข่าวสาร พร้อมรับโปรโมชั่นและสิทธิประโยชน์พิเศษจากเรา

Line : ucm.123
โทร. 02-467-5103, 02-868-1525, 081-818-7431
อีเมล: sales@unionconmat.co.th, union_conmat@yahoo.com

Share this post

Start typing and press Enter to search

Shopping Cart

ไม่มีสินค้าในตะกร้า