การเลือกใช้วัสดุฉนวนกันเสียงที่มีความทนทานต่อสภาพอากาศ
เลือกฉนวนกันเสียงกลางแจ้งอย่างไรให้ไม่พลาด! แนะนำ 5 แนวทางเลือกฉนวนกันเสียงที่ควรรู้
ฉนวนกันเสียง ก็เป็นสิ่งหนึ่งที่มีความจำเป็นสำหรับงานกลางแจ้งหลากหลายประเภท ไม่ว่าจะเป็นการกันเสียงเครื่องจักร กันเสียงไซต์ก่อสร้าง กันเสียงเวทีแสดงคอนเสิร์ตกลางแจ้ง รวมถึงการนำมาใช้เป็นฉนวนบุกันไฟในงาน Fire Rate Duct ประตูกันไฟ งานโครงสร้างเหล็ก หรือบริเวณที่มีความร้อนสูงอย่างเตาหลอม เครื่องกำเนิดไฟฟ้า และเครื่องยนต์ในเรือ เพื่อควบคุมเสียงรบกวนและความปลอดภัย เพื่อช่วยให้ทุกคนเลือกฉนวนกันเสียงได้เหมาะสมกับงานกลางแจ้งแต่ละประเภท บทความนี้เลยรวม 5 เรื่องต้องเช็กก่อนเลือกฉนวนกันเสียงกลางแจ้ง เพื่อการใช้งานที่ดี มีประสิทธิภาพ และทนทาน จะมีอะไรบ้าง ตามมาดูกัน
รวม 5 เรื่องต้องเช็กก่อนเลือกฉนวนกันเสียงกลางแจ้ง เพื่อการใช้งานที่ดี มีประสิทธิภาพ และทนทาน
- ตรวจสอบก่อนว่าสถานที่ที่จะติดตั้งฉนวนกันเสียงคือพื้นที่แบบใด
สภาพแวดล้อมของพื้นที่ติดตั้งฉนวนกันเสียงกลางแจ้งเป็นปัจจัยสำคัญที่ต้องพิจารณาเพื่อเลือกใช้วัสดุที่เหมาะสมและทนทาน เพราะถ้ามีแสงแดด ฝน ลม หมายความว่าฉนวนกันเสียงจะต้องสามารถทนต่อสภาพอากาศแปรปรวน ทนรังสียูวี ความชื้น และลมแรงได้ดี มิฉะนั้นอาจเสื่อมสภาพเร็ว ยังมีเรื่องพื้นที่โล่ง หรือพื้นที่จำกัด เพราะส่งผลต่อการออกแบบ รูปแบบ และวิธีการติดตั้งฉนวนกันเสียงที่แตกต่างกัน เช่น พื้นที่จำกัดอาจต้องเลือกใช้วัสดุที่บางและเบาเพื่อประหยัดพื้นที่ รวมถึงเรื่องอุณหภูมิสภาพแวดล้อมที่ฉนวนกันเสียงจะต้องทำงานอยู่ ซึ่งมีผลต่อคุณสมบัติการกันเสียง และอายุการใช้งานของฉนวน เช่น ถ้าพื้นที่มีอุณหภูมิสูงมาก ต้องเลือกใช้วัสดุที่ทนความร้อนได้ดี ดังนั้นก่อนจะตัดสินใจเลือกซื้อฉนวนกันเสียง สิ่งแรกที่ต้องตรวจสอบคือการทำความรู้จักพื้นที่ที่เราจะติดตั้งฉนวนกันเสียงให้ดีก่อน - เลือกฉนวนกันเสียงให้ตรงกับสภาพแวดล้อมที่จะใช้งาน
เมื่อทราบแล้วว่าเราจะติดตั้งฉนวนกันเสียงบนพื้นที่แบบใด ก็มาดูกันต่อที่เรื่องของวัสดุที่จะเลือกใช้ โดยฉนวนกันเสียงแต่ละประเภทก็มีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันออกไป หรือเรียกง่าย ๆ ว่ามีความทนทานต่อสภาพแวดล้อมที่ต่างกัน โดยเฉพาะการติดตั้งฉนวนกันเสียงเพื่อป้องกันเสียงกลางแจ้งอย่างพวกไซต์ก่อสร้าง เวทีคอนเสิร์ต กันเสียงเครื่องจักร หรือใช้เป็นฉนวนบุกันไฟในงาน Fire Rate Duct ประตูกันไฟ งานโครงสร้างเหล็ก หรือแม้แต่บริเวณที่มีความร้อนสูง เช่น เตาหลอม เครื่องกำเนิดไฟฟ้า เครื่องยนต์ในเรือ โดยสามารถพิจารณาได้จากสามประเภทฉนวนกันเสียงยอดนิยมได้ดังนี้- ฉนวนกันเสียงโพลียูรีเทน: เป็นวัสดุฉนวนที่มีน้ำหนักเบา ราคาไม่แพง และให้ประสิทธิภาพการกันเสียงที่ดี อีกทั้งยังทนต่อความชื้นได้ดี จึงเหมาะสำหรับการใช้งานกลางแจ้ง อย่างไรก็ตาม โพลียูรีเทนอาจเสื่อมสภาพได้เมื่อถูกรังสียูวีจากแสงแดดเป็นระยะเวลานาน จึงควรติดตั้งในพื้นที่ที่มีการพรางแสงอย่างเพียงพอ
- ฉนวนกันเสียงใยแก้ว: เป็นวัสดุที่ให้ประสิทธิภาพการกันเสียงสูงมาก โดยเฉพาะในกรณีฉนวนใยแก้วที่มีความหนาแน่นสูง อย่างไรก็ตาม ใยแก้วอาจแตกหักได้เมื่อถูกแรงกระแทกหรือได้รับผลกระทบจากสภาพอากาศที่รุนแรง จึงอาจไม่เหมาะสำหรับใช้งานในบางพื้นที่กลางแจ้ง
- ฉนวนกันเสียงใยหิน: ฉนวนกันเสียงใยหินมีน้ำหนักเบา ทนความร้อนสูง ทนต่อการเผาไหม้ ระบายความชื้นได้ดี ทำให้ง่ายต่อการขนย้าย และติดตั้ง ลดความยุ่งยากในการทำงานกลางแจ้ง
- สังเกตความสามารถในการกันเสียงที่เรียกว่า STC และ STL และต่างจากค่า NRC อย่างไร?
นอกเหนือจากเรื่องวัสดุ อีกสิ่งหนึ่งที่ควรตรวจสอบก่อนเลือกซื้อฉนวนกันเสียงก็คือความสามารถในการกันเสียงเรียกว่า STC และ STL โดยเราจะขออธิบายไปทีละเรื่องดังนี้- STC (Sound Transmission Class): ค่า STC ของฉนวนกันเสียงคือค่าที่บอกถึงประสิทธิภาพในการกั้นเสียงไม่ให้ผ่านจากบริเวณหนึ่งไปยังอีกบริเวณหนึ่งผ่านผนัง พื้น หรือฝ้าเพดาน กล่าวคือยิ่งค่า STC สูงมาก ก็หมายความว่าวัสดุนั้นสามารถกั้นเสียงได้ดีมากขึ้นตามไปด้วย ซึ่งโดยทั่วไปแล้วหากมีค่า STC 40 จะถือว่ากันเสียงได้เล็กน้อย ในระดับที่ยังคงได้ยินเสียงการพูดคุยกันของคนทั่วไปแบบเบา ๆ อยู่ หากมี STC 50 จะกันเสียงในระดับคนตะโกนได้ โดยจะได้ยินเสียงตะโกนเหล่านั้นแบบเบา ๆ แต่ถ้าเป็นเสียงคุยปกติจะไม่ได้ยินเลย สำหรับ STC 60 จะไม่ได้ยินเสียงพูดคุย หรือเสียงตะโกนใด ๆ เล็ดรอดเข้ามาเลย จึงเหมาะกับการติดตั้งไว้ในห้องอัดเสียง หรือห้องซ้อมดนตรี และถ้ามี STC 70 ขึ้นไป จะถือว่ากันเสียงได้ดีที่สุด พวกโรงหนัง สถานบันเทิง หรือสถานที่ที่ต้องการความเงียบมาก ๆ จึงมักจะเลือกฉนวนกันเสียงระดับนี้ไปใช้กัน
- STL (Sound Transmission Loss): ค่า STL ของฉนวนกันเสียงเป็นค่าที่บอกถึงปริมาณการสูญเสียพลังงานเสียงขณะผ่านวัสดุกั้นเสียง ตัวอย่างเช่น ถ้าระดับเสียงที่ลำโพงปล่อยออกมาคือ 90 เดซิเบล แต่ที่วัดได้ในอีกห้องหนึ่งมีเพียง 60 เดซิเบล แสดงว่าวัสดุกั้นเสียงนั้นมีค่า STL ที่ 30 เดซิเบล (90-60) นั่นเอง ดังนั้นยิ่งค่า STL สูง ก็แสดงว่าฉนวนกันเสียงชนิดนั้นสามารถดูดซับหรือกันเสียงได้มากนั่นเอง
สำหรับอีกหนึ่งค่าดูดซับเสียงที่นิยมสังเกตกันคือค่า Noise Reduction Coefficient (NRCป หรือ ค่าสัมประสิทธิ์การลดเสียง ค่านี้จะวัดอยู่ที่เลข 0 และ 1 โดยยิ่งมีค่า NRC ใกล้ 1 จะหมายถึงวัสดุที่ดูดซับเสียงได้ดีมาก แต่ถ้าใกล้ 0 แปลว่าดูดซับได้น้อยไปจนถึงไม่ได้เลย ค่านี้จะต่างจาก STL ตรงที่ STL จะใช้ในการเลือกวัสดุเพื้อกั้นเสียงไม่ให้ออกไปข้างนอก แต่ NRC จะใช้เลือกวัสดุที่ดูดซับเสียงภายในห้องไม่ให้ก้อง สะท้อน หรือเกิดเสียงรบกวน ซึ่งฉนวนกันเสียงโพลียูรีเทน, ฉนวนกันเสียงใยแก้ว,ฉนวนกันเสียงใยหิน เป็นวัสดุที่มีค่าเข้าใกล้ 1 มากกว่า
- เลือกฉนวนกันเสียงจากแบรนด์ที่น่าไว้ใจ
ฉนวนกันเสียงก็ไม่ต่างจากสินค้าประเภทอื่น ๆ ที่เรื่องแบรนด์ก็มีผลต่อความน่าเชื่อถือ สำหรับแบรนด์ยอดนิยมในหมู่ฉนวนกันเสียงที่ได้ยินชื่อกันบ่อย ๆ ก็คือ ROCKWOOL เพราะขึ้นชื่อในเรื่องของคุณภาพฉนวนกันเสียง โดยเฉพาะฉนวนใยหินจากหินภูเขาไฟ ที่มีโครงสร้างเป็นเส้นใยพรุนละเอียด สามารถดูดซับเสียงได้อย่างดีเยี่ยม ช่วยลดเสียงรบกวนจากภายนอกอย่างมีประสิทธิภาพ เหมาะสำหรับพื้นที่ต้องการความเงียบสงบ นอกจากนี้ ฉนวนใยหิน ROCKWOOL ยังมีความแข็งแรงทนทาน สามารถทนต่อสภาพอากาศกลางแจ้ง แสงแดด ฝน และลม ได้เป็นอย่างดี เนื่องจากเป็นวัสดุจากหินธรรมชาติ จึงมีความคงทนต่อการกัดกร่อนสูง ไม่เสื่อมสภาพง่าย ส่งผลให้ฉนวนกันเสียงมีอายุการใช้งานยาวนาน โดยพวกเขาก่อตั้งแบรนด์มานานกว่า 90 ปี นับตั้งแต่ปี 1933 จนถึงปัจจุบันก็สามารถมีโรงงานผลิตทั้งหมด 45 โรงงานในสามทวีปทั่งโลก (ยุโรป อเมริกาเหนือ และ เอเชีย) และมีเครือข่ายทั้งสำนักงานขาย และตัวแทนจำหน่าย ตลอดจนพันธมิตรทั่วโลก - เลือกซื้อฉนวนใยหินกับร้านค้าที่น่าเชื่อถือ
นอกเหนือจากตัวแบรนด์ การเลือกซื้อกับร้านค้า หรือตัวแทนจำหน่ายที่มีบริการแบบครบวงจรก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ควรพิจารณาให้ดีก่อนเลือกซื้อฉนวนกันเสียง เพราะจะช่วยลดความกังวลในขั้นตอนการขนส่ง ขั้นตอนการติดตั้ง และขั้นตอนการรับประกันต่าง ๆ ได้มากขึ้น และที่สำคัญคือควรเลือกร้านที่มีความเชี่ยวชาญในเรื่องนี้จริง ๆ เพื่อให้พวกเขาช่วยเป็นที่ปรึกษากับเราได้ด้วย
การเลือกฉนวนกันเสียงสำหรับใช้ในพื้นที่กลางแจ้งไม่ใช่เรื่องง่าย เนื่องจากต้องพิจารณาปัจจัยหลายอย่าง ทั้งคุณสมบัติการกันเสียง ประสิทธิภาพการทนทานต่อสภาพอากาศ และความเหมาะสมกับงบประมาณ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพสูงสุด เราจึงสรุป 5 แนวทางสำคัญที่ควรรู้ ได้แก่ การพิจารณาวัสดุที่ใช้ในฉนวนเสียง เลือกประเภทฉนวนที่สามารถกันเสียงได้ดี เช่น ฉนวนโพลียูรีเทนหรือฉนวนไฟเบอร์กลาส รวมถึงเลือกฉนวนที่สามารถติดตั้งและบำรุงรักษาง่าย นอกจากนี้ การเลือกฉนวนที่มีความคุ้มค่าในระยะยาว เป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ควรคำนึงถึง
ฉนวนกันเสียงที่เหมาะสมไม่เพียงช่วยลดเสียงรบกวนจากภายนอกได้ดี แต่ยังเพิ่มความสงบสุขให้กับพื้นที่ใช้งานกลางแจ้ง เช่น สวนหลังบ้าน หรือพื้นที่นั่งเล่น โดยการทำความเข้าใจข้อดีของฉนวนแต่ละประเภทและเลือกให้เหมาะสมกับการใช้งานจริง จะทำให้เราสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการกันเสียงได้ดีในทุกสถานการณ์ หากคำนึงถึงแนวทางเหล่านี้ การเลือกฉนวนกันเสียงที่ตรงใจและคุ้มค่าจะเป็นไปได้ง่ายขึ้น ลดปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ทั้งยังช่วยประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุง
เป็นอย่างไรกันบ้างกับ 5 แนวทางเลือกฉนวนกันเสียงที่ควรรู้ เชื่อว่าหลังจากอ่านมาถึงตรงนี้ ทุกคนน่าจะได้ความรู้ดี ๆ กลับไปกันเพียบแน่นอน ส่วนใครที่กำลังมองหาร้านค้าที่จัดจำหน่ายฉนวนกันเสียง สำหรับใครที่อ่านจบแล้วและกำลังมองหาแหล่งจัดจำหน่ายฉนวนใยแก้ว และฉนวนกันความร้อนคุณภาพดีพร้อมบริการแบบครบวงจร ยูเนี่ยน คอนแมท เรายินดีให้คำปรึกษา และให้บริการจำหน่ายฉนวนกันเสียง ฉนวนกันความร้อนจากแบรนด์คุณภาพชั้นนำระดับโลกอย่าง ROCKWOOL ครบวงจร รวมทั้งอุปกรณ์ติดตั้ง ท่อลม และท่อดักท์ และวัสดุยาแนวทั่วไป เช่น duct tape และวัสดุยาแนวกันไฟ เช่น กาวอะคริลิค (แด๊ป) กาวซิลิโคน กาวยาง กาวเหลือง เทปอลูมิเนียม ครอบสันหลังคา แผ่นสะท้อนความร้อน ฟอยล์กันความร้อน อลูมิเนียมฟอยล์ ฉนวนใยแก้ว ฉนวนใยหิน ฉนวนกันความร้อนหลังคา นอกจากนี้เรายังเป็นผู้ผลิต และจำหน่ายหมุด แหวน สำหรับยึดฉนวนในรูปแบบต่าง ๆ บริษัทของเรายังเป็นผู้ผลิตผ้าใบต่อท่อดักท์รายแรกในประเทศไทย มั่นใจได้ว่าคุณจะสามารถใช้งานสินค้าทุกชนิดได้อย่างมีประสิทธิภาพตลอดอายุการใช้งาน
ติดตามข่าวสาร พร้อมรับโปรโมชั่นและสิทธิประโยชน์พิเศษจากเรา
Line : ucm.123
โทร. 02-467-5103, 02-868-1525, 081-818-7431
อีเมล: sales@unionconmat.co.th, union_conmat@yahoo.com